วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2556

พัทธสีมา หมายถึง


สีมา หมายถึงเขตหรือแดนที่กำหนดไว้สำหรับทำสังฆกรรมของสงฆ์ เป็นเขตชุมนุมสงฆ์โดยเฉพาะ ซึ่งพระสงฆ์กำหนดว่าผู้อยู่ในเขตนั้นจะต้องร่วมกันทำสังฆกรรมโดยความพร้อมเพรียงกัน
พัทธสีมา หมายถึงสีมาหรือเขตแดนที่พระสงฆ์ผูกไว้แล้ว คือพระสงฆ์ร่วมกันกำหนดให้เป็นเขตทำสังฆกรรมตามพระวินัย เรียกพิธีกรรมที่กำหนดอย่างนั้นว่า ผูกสีมา โดยทั่วไปเรียกพัทธสีมาว่า โบสถ์ หรืออุโบสถ
เขตหรือแดนที่จะผูกเป็นพัทธสีมานั้นจะต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการก่อน เพราะต้องเป็นเขตแยกต่างหากจากเขตแดนบ้าน ซึ่งเรียกว่าวิสุงคามสีมา


วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2556

อานิสงส์ในการสร้างลูกนิมิต



อานิสงส์ถวายสัพพทาน
...... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทานของสัปบุรุษเหล่านี้ ๘ อย่าง คือ 
๑. ให้ของที่สะอาด
๒. ให้ของประณีต 
๓. ให้ถูกกาล 
๔. ให้ของที่สมควร 
๕. เลือกให้ 
๖. ให้เสมอ ๆ 
๗. กำลังให้ยังจิตให้เลื่อมใส 
๘. ครั้นให้แล้วปลื้มใจ สัปปุริสทาน 


การให้ ๘ อย่างนี้ประเสริฐยิ่งนักหนา 

ในกาลครั้งนั้น องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าก็สถิตสำราญอยู่ในป่าเชตวันอันเป็นอารามของนาย อนาถปิณฑิก มหาเศรษฐีอยู่ในที่ใกล้ ๆ นครสาวัตถี ในกาลครั้งนั้นมีพระยาองค์หนึ่ง ชื่อ มหานามะ ก็เอา ประธูปประทีปคันธรสของหอม 
แล้วพาหมู่บริวารทั้งหลายเข้าไปสู่ที่เฝ้าพระสัพพัญญูเจ้า แล้วก็นั่งในที่
ควรแห่งหนึ่ง จึงทูลถามพระสัพพัญญูเจ้าว่า “ภนฺเต ภควา” ข้าแต่องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าบุคคลผู้ใด เลื่อมใสศรัทธา มาก่อสร้าง "สัพพาทาน" หลาย ๆ ชนิด ก็จักมีอานิสงส์ดังรือพระเจ้าข้า “ภควา” อันว่าองค์
... สมเด็จพระศาสดาจารย์เจ้าจึงเทศนาว่า ดูกรมหาบพิตร นรชนหญิงชายทั้งหลายมีใจเลื่อมใสศรัทธา มาก่อสร้าง "สัพพาทาน" หลาย ๆ ชนิดเป็นต้นว่า
  • สร้างพระพุทธรูปก็จักได้อานิสงส์ ๙ กัลป
  • สร้างพระไตรปิฏกธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ก็ได้อานิสงส์ ๑๐ กัลป 
  • ผู้ใดได้บวชตนเป็นสามเณร ก็จักได้อานิสงส์ ๑๒ กัลป 
  • ผู้ไดได้บวชตนเป็นพระภิกษุ ก็จักได้ อานิสงส์ ๒๔ กัลป 
  • ผู้ใดได้สร้างพระธาตุเจดีย์ก็จักได้อานิสงส์ ๘๐ กัลป 
  • ผู้ใดได้ปลูกไม้ศรีมหาโพธิ์ ก็จักได้อานิสงส์ ๙ กัลป 
  • ผู้ใดให้โภชะนังยังข้าวน้ำ โภชนะอาหารให้เป็นทานแก่ภิกษุสามเณร ก็จักได้บริวารแสนหนึ่ง 
  • ผู้ใดได้สร้างเจดีย์ทรายก็จักได้อานิสงส์ ๖๐ กัลป 
  • ผู้ใดสร้างกุฏีให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป
  • ผู้ใดสร้างอุโบสถให้เป็น ทานก็จักได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป 
  • ผู้ใดสร้างกฐินให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๘๐ กัลป 
  • ผู้ใดสร้างอารามให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๔๐กัลป 
  • ผู้ใดสร้างพัทธสีมาให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๑๐๐ กัลป 
  • ผู้ใดได้บวชบุรุษผู้อื่นให้เป็นพระภิกษุก็จักได้อานิสงส์ ๘ กัลป 
  • บวชบุตรตนเองให้เป็นภิกษุ ก็จะได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
  • ภรรยาบวชสามีของตนให้เป็นสามเณร ก็จักได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
  • ภรรยาบวชสามีของตนให้เป็นพระภิกษุ ก็จักได้อานิสงส์ ๓๒ กัลป
  • สามีบวชภรรยาให้เป็นภิกษุณี ก็จักได้อานิสงส์ ๖๔ กัลป
  • ผู้ใดได้สร้างพระเจดีย์ธาตุข้าวเปลือกให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๓๑ กัลป 
  • ผู้ใดสร้างพระเจดีย์ธาตุข้าวสารให้เป็นทานได้อานิสงส์ ๔๒ กัลป
  • ผู้ใดได้สร้างพระเจดีย์ธาตุเหลือให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๖๔ กัลป 
  • ผู้ใดสร้างรั้วล้อมอาราม ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป 
  • ผู้ใดปัดกวาดขยะมูลฝอยถอนเสียจากเขตอารามได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป 
  • ผู้ใดสร้างศาลาสะพานบ่อน้ำให้เป็นทานได้อานิสงส์ ๓๐ กัลป 
  • ผู้ใดได้ถวายดอกไม้ธูปเทียนได้อานิสงส์ ๘ กัลป 
  • ผู้ใดได้สร้างอัฏฐให้เป็นทานได้อานิสงส์ ๓๖ กัลป 
  • ผู้ใดได้ถวายจีวรเถราภิเษก ได้อานิสงส์ ๓๒ กัลป 
  • ผู้ใดถวายผ้าป่าได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป
  • ผู้ใดให้ฝาผนังและเพดานเป็นทานได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป 
  • ผู้ใดสร้างธงฝ้าย ธงผึ้ง ธงชัย ธงชาย ธงเหล็ก บูชาพระรัตนตรัย ได้อานิสงส์ ๖๔ กัลป 
  • ผู้ใดสร้างขันหมากเบ็งบูชาระรัตนตรัย ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป 
  • ผู้ใดถวายซึ่งข้าวพันก้อนบูชาพระรัตนตรัยได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป 
  • ผู้ใดถวายผ้าอาบน้ำฝน และผ้าจำนำพรรษา ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
  • ผู้ใดสร้างปราสาทดอกผึ้งให้เป็นทาน ได้อานิสงส์ ๓ กัลป
  • ผู้ใดสร้างต้นกัลปพฤกษ์ให้เป็นทานได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป์ 
  • ผู้ใดสร้าง ฆ้อง กลอง แคน ซอ หอยสังข์ ปี่ แตร แตรวง ดนตรีให้เป็นทานได้อานิสงส์ ๖๐ กัลป
  • ผู้ใดได้ถวายเสื่อสาดอาสนะได้อานิสงส์ ๔ กัลป 
  • ผู้ใดถวายเตียงเก้าอี้ฟูกเบาะให้เป็นทาน ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป 
  • ผู้ใดได้ปลูกกุฏีกรรมให้พระภิกษุเข้าปริวาสกรรม และมานัตตกรรม ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
  • ผู้ใดได้สร้างบั้งไฟจุดบูชาพระรัตนตรัย ได้อานิสงส์ ๔ กัลป 
  • ผู้ได้สร้างพัทธสีมาน้ำได้อานิสงส์ ๖๗ กัลป
  • ผู้ใดได้สร้างธรรมาสน์ ได้อานิสงส์ ๓๒ กัลป 
  • ผู้ใดได้สร้างเวจกุฏี ได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป 
  • ผู้ใดได้เผาซากศพที่ตกเรี่ยราดอยู่ตามป่าตามดง ได้บริวารหมื่นหนึ่ง
  • ผู้ใดได้เผาศพญาติมิตรสหาย ได้บริวาร ๓ หมื่น 
  • ผู้ใดได้เผาศพบิดามารดาได้บริวารหนึ่งแสน 
  • ผู้ใดได้เผาศพอุปัชฌาย์อาจารย์ ได้บริวารโกฏิหนึ่ง 
  • ผู้ใดได้ถวายโอ่งน้ำ และส้วมอาบน้ำ และครุตักน้ำก็ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป

วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

-นะโมพุทธายะ _หมายถึง ????



นะโมพุทธายะพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ในภัทรกัปนี้ ได้แก่


นะ-คือ พระพุทธเจ้ากุกกะสันโธ องค์แรกในภัทรกัปนี้

โม-คือ พระพุทธเจ้าโกนาคม องค์ต่อมา

พุท-คือ พระพุทธเจ้ากัสสปะ องค์ถัดมา

ธา-คือ พระพุทธเจ้าพระสมณโคดม องค์ปัจจุบัน/5000 _ปี
ยะ-คือ พระพุทธเจ้าพระศรีอริยเมตไตรยในอนาคตกาลข้างหน้า

-สวรรค์ นรก กรรม เทวดา พรหม มีจริงหรือ ?

สวรรค์  นรก กรรม เทวดา  พรหม มีจริงหรือ ?
**พระไตรปิฎก**

      ถึงแม้ว่าประชาชน ชาวไทยจะนับถือพุทธศาสนามากกว่า ๙๐ เปอร์เซ็นต์ ก็ตาม แต่ปัญหาขัดแย้งทางวิชาการปรากฏว่ามีอยู่เสมอในระหว่างพุทธศาสนิกชนกลุ่ม ต่างๆ แม้ภิกษุผู้ทำการบรรยายธรรมถ่ายทอดไปสู่ประชาชนก็สอนไม่ตรงกัน ตัวอย่าง เช่น กลุ่มหนึ่งกล่าวว่า มีนรก มีสวรรค์ มีเทวดา มีพรหม อีกกลุ่มหนึ่งกล่าวว่า ไม่มีนรก สวรรค์ เทวดา พรหม พวกที่เชื่อว่ามีนรก สวรรค์ เทดา พรหม เป็นพวกไม่มีเหตุผล เหลวไหล งมงาย หรือพวกหนึ่งกล่าวว่านิพพานสูญ อีกพวกหนึ่งกล่าวว่านิพพานไม่สูญ ดังนี้ เป็นต้น

-พุทธทำนาย 16 ประการ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗




อรรถกถา เอกกนิบาตชาดก วรุณวรรค
๗. มหาสุบินชาดก ว่าด้วยมหาสุบิน
               พระบรมศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภมหาสุบิน ๑๖ ข้อ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ลาวูนิ สีทนฺติ ดังนี้. 

วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

-พุทธประวัติพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน


ภาพพุทธประวัติ

พระโคตมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน 



รูปภาพ
สิทธัตถะโคตม หรือ พระโคตมพุทธเจ้า หรือที่นิยมเรียกว่า พระพุทธเจ้า เป็นพระบรมศาสดาของพระพุทธศาสนา เป็นผู้สั่งสอนพระธรรมวินัยซึ่งต่อมาเรียกว่าพระพุทธศาสนา ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทถือว่าการเรียกพระพุทธเจ้าโดยออกนามโคตรนั้นเป็นการไม่เคารพ เช่นเรียกว่า พระสมณโคดม เป็นต้น ทำให้ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท มักเรียกพระพุทธองค์โดยใช้ศัพท์ว่า สตฺถา ที่แปลว่า พระศาสดา แทน ปัจจุบันชาวพุทธนิยมเรียก พระโคตมพุทธเจ้า ว่า พระพุทธเจ้า

วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

-คติธรรม ธรรมะสอนใจ

คติธรรม ธรรมะสอนใจ






วัดสระคล้า  ต.ทุ่งทราย อ.ทรายทองวัฒนา กำแพงเพชร 


-ประเภทของสัตว์หิมพานต์

ประเภทของสัตว์หิมพานต์

สัตว์หิมพานต์


-บุโรพุทโธ Borobudur

บุโรพุทโธ Borobudur
ศาสนาพุทธอันรุ่งเรื่องในอดีต บนเกาะชวา

วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ร่วมบริจาคได้ที่




-ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธา บริจาคร่วมสร้างอุโบสถ



-ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธา บริจาคร่วมสร้างอุโบสถประดิษฐานหลวงพ่อพระหยกขาว


สร้างลูกนิมิต-สร้างพัทธสีมาให้เป็นทาน



หลวงพ่อพระหยกขาวแห่งวัดทรายทองวัฒนา(สระคล้าวนาราม)






หลวงพ่อพระหยกขาวแห่งวัดทรายทองวัฒนา(สระคล้าวนาราม)