วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

-ประเภทของสัตว์หิมพานต์

ประเภทของสัตว์หิมพานต์

สัตว์หิมพานต์





        สัตว์หิมพานต์นั้นเป็นสัตว์ในจินตนาการที่กวี จิตรกร ประติมากร หรือช่าง พรรณนาถึงสัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์หรือเขาไกรลาส ดังที่ปรากฏในวรรณคดีไตรภูมิกถา (ไตรภูมิพระร่วง) และรามเกียรติ์ โดยมีลักษณะของสัตว์หลายชนิดมาประกอบกันในตัวเดียว เช่น การนำรูปคนมาปนรูปสิงห์ หรือการนำรูปยักษ์มาปนกับมังกรและลิง

ป่าหิมพานต์
        และเมื่อพูดถึง สัตว์หิมพานต์ ก็ย่อมต้องนึกถึงที่อยู่ของสัตว์เหล่านี้ด้วย นั่นก็คือ ป่าหิมพานต์ ซึ่งมีตำนานกล่าวไว้ว่าป่าหิมพานต์นั้นตั้งอยู่บน เขาหิมพานต์ หรือ หิมาลายา (หิมาลัย) โดยคำว่า หิมาลายา เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต มีความหมายว่า สถานที่ซึ่งถูกปกคลุมด้วยหิมะ
     
 ภูเขาหิมพานต์ประดิษฐานอยู่ในชมพูทวีป มีเนื้อที่ประมาณ 3,000 โยชน์
(1 โยชน์ เท่ากับ 10 ไมล์ หรือ 16 กิโลเมตร) วัดโดยรอบได้ 9,000 โยชน์
มีทั้งหมด 84,000 ยอด มีสระใหญ่ 7 สระ คือ
สระอโนดาต
สระกัณณมุณฑะ
สระรถการะ
สระฉัททันตะ
สระกุณาละ
สระมัณฑากิณี
สระสีหัปปาตะ

        ในบรรดาสระใหญ่ทั้ง 7 นั้น
สระอโนดาตแวดล้อมไปด้วยภูเขาทั้ง 5 ที่จัดเป็นยอดเขาหิมพานต์ โดยยอดเขาทุกยอดมีส่วนสูงและสัณฐาน 200 โยชน์ กว้างและยาว 50 โยชน์ ซึ่งในป่าหิมพานต์นี้จะเต็มไปด้วยสัตว์นานาชนิดที่ล้วนแต่แปลกประหลาด และต่างจากสัตว์ที่เรารู้จัก บ้างก็ว่าสัตว์เหล่านี้เกิดจากจินตนาการของจิตรกรที่ได้สร้างสรรค์ภาพต่างๆ จากเอกสารเก่า

นก
อสูรปักษา
อสุรวายุพักตร์
นกการเวก
ครุฑ
กินรี
เทพปักษี
นกทัณฑิมา
หงส์
หงส์จีน
คชปักษา
มยุระคนธรรพ์
มยุระเวนไตย
สินธุปักษี
สีหสุบรรณ
สุบรรณเหรา
มังกรสกุณี
นาคปักษี
นาคปักษิณ
นกหัสดี
นกอินทรี
นกสัมพาที
กินนร
สกุณเหรา
นกเทศ
พยัคฆ์เวนไตย
นกสดายุ
เสือปีก
อรหัน
-
-
-
สิงห์สิงห์ผสม
บัณฑุราชสีห์
กาฬสีหะ
ไกรสรราชสีห์
ติณสีหะ
-
-
-
-
เกสรสิงหะ
เหมราช
คชสีห์
ไกรสรจำแลง
ไกรสรคาวี
เทพนรสีห์
ฑิชากรจตุบท
โต
ไกรสรนาคา
ไกรสรปักษา
โลโต
พยัคฆ์ไกรสร
สางแปรง
สิงหคาวี
สิงหคักคา
สิงหพานร
สกุณไกรสร
สิงห์
สิงโตจีน
สีหรามังกร
โตเทพสิงฆนัต
ทักทอ
นรสิงห์
-
ม้าปลาช้างกิเลนกวาง
ดุรงค์ไกรสร
ดุรงค์ปักษิณ
เหมราอัสดร
ม้า
ม้าปีก
งายไส
สินธพกุญชร
สินธพนที
โตเทพอัสดร
อัสดรเหรา
อัสดรวิหก
-
-
-
-
-
เหมวาริน
กุญชรวารี
มัจฉนาคา
มัจฉวาฬ
นางเงือก
ปลาควาย
ปลาเสือ
ศฤงคมัสยา
เอราวัณ
กรินทร์ปักษา
วารีกุญชร
ช้างเผือก
-
-
-
-
กิเลนจีน
กิเลนไทย
กิเลนปีก
-
-
-
-
-
มารีศ
พานรมฤค
อัปสรสีหะ
-
-
-
-
-
มนุษย์จระเข้ลิงวัวควายแรดสุนัขปูนาค
คนธรรพ์
มักกะลีผล
กุมภีนิมิตร
เหรา
กบิลปักษา
มัจฉาน
มังกรวิหค
ทรพา ทรพี
แรด
-
สุนัข
-
ปู
-
นาค
-








ประเภทของสัตว์หิมพานต์

        นายช่วง สเลลานนท์ ผู้ประพันธ์หนังสือ "ศิลปไทย" ในปี พ.ศ. 2494 จำแนกสัตว์หิมพานต์
เป็น 3 ประเภท คือ สัตว์ทวิบาท (สองขา) สัตว์จตุบาท (สี่ขา) และปลา โดยเป็นการจำแนกตามความคล้ายคลึงทางสรีรภาพของสัตว์
     

 กิเลน

        เป็นสัตว์หิมพานต์ที่ได้รับมาจากประเทศจีน เช่นเดียวกับสัตว์หลายชนิดในจีน กิเลนตัวผู้กับตัวเมียมีชื่อเรียกไม่เหมือนกัน ตัวผู้มีชื่อเรียกว่า "กิ" ส่วนตัวเมียเรียกว่า "เลน"
        ซึ่งตำนานเกี่ยวกับสัตว์ชนิดนี้มีอยู่ในประเทศอื่นด้วย เช่น ประ เทศญี่ปุ่นและเกาหลี ในญี่ปุ่นเรียกสัตว์ชนิดนี้ว่าคิริน ในไทยเองก็มีรูปกิเลนตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 และมีรูปลักษณ์ต่างออกไป มี 3 แบบ
กิเลนจีน
กิเลนไทย
กิเลนปีก


    กวาง

        สัตว์ประหลาดที่มีเค้าจากกวางในตำนานหิมพานต์ ได้แก่

มารีศ

มารีศ เป็นหนึ่งในตัวละครยักษ์ในเรื่อง รามายนะ (รามเกียรติ์). มารีศเป็นบุตรของนางยักษ์ชื่อ กากนาสูร และเป็นญาติของทศกัณฑ์ (ตัวร้ายหลักของเรื่อง) ในเรื่อง ทศกัณฑ์ต้องการจับตัวนางสีดา จึงสั่งให้มารีศให้จำแลงกาย เป็นกวางทองไปล่อนาง แผนนี้เกือบสำเร็จลุล่วง แต่ท้ายที่สุด มารีศก็โดนพระรามแผลงศรใส่ ในรูปวาดมารีศจึงเป็นรูปสัตว์ประหลาด กึ่งยักษ์กึ่งกวาง 

พานรมฤค
พานรมฤคมีร่างท่อนบนเป็นลิงและมีกายท่อนล่างเป็นกวาง
พานรมฤค::.

      พานี, วานร แปลว่า ลิง เหมือนกัน คือในบาลีและสันสกฤตใช้ว่า วานร ไทยเรามาแผลง ว เป็น พ จึงเป็นพานร ถ้าเป็นหัวหน้าลิงก็ใช้ว่า พานรินทร์ คือ พญาลิง ในรูปก็เป็นพญาลิง ไม่ใช่ลิงธรรมดา พานรมฤค เป็นสัตว์ประเภทเดียวกันกับเทพนรสิงห์, นรสีห์ คือท่อนล่างเป็นสัตว์ประเภทมีกีบ คำว่า "มฤค" มีความหมายกว้าง คือหมายถึงสัตว์ป่า มีกวาง อีเก้ง เป็นต้น ถ้าเป็นตัวเมีย ก็ใช้ว่า มฤคี แต่ถ้าเปลี่ยนเป็น มฤคราช, มฤคินทร์, มฤเคนทร์ ก็หมายถึง ราชสีห์ กลาย เป็นสัตว์ร้ายมีอำนาจขึ้นมาทันที ไม่ดูขลาดเหมือนกวาง เหมือนอีเก้ง ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่า พานรมฤคตัวนี้นุ่งผ้าสั้นเต็มที สั้นพอ ๆ กับนรสีห์ ซึ่งไม่เหมือนกับเทพนรสิงห์ที่นุ่งผ้าเรียบร้อย และโดยเหตุที่เป็นลิง ก็มักจะถือ ผลไม้ซึ่งเป็นอาหารของโปรดไว้ด้วยเสมอ ดีกว่ามืออยู่เปล่า ๆ


อัปสรสีหะ
                                

    สิงห์

        สัตว์ในป่าหิมพานต์ส่วนใหญ่จัดอยู่ในหมวดสิงห์ สิงห์ในตำนานหิมพานต์จำแนกได้เป็น 2 ชนิดหลักๆ คือ

ราชสีห์ มี 4 ชนิด คือ

บัณฑุราชสีห์ 

     เป็น ๑ ใน ๔ ราชสีห์แห่งป่าหิมพานต์ บัณฑุราชสีห์มีผิวกายสีเหลืองและ เป็นสัตว์กินเนื้อ บัณฑุราชสีห์จัดได้ว่าเป็นสัตว์นักล่าขนาดใหญ่สัตว์ ที่ถูกล่า มีตั้งแต่สัตว์ประเภทกวาง ควาย ช้าง หรือแม้แต่มนุษย์ ในเอกสารที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับป่าหิมพานต์ระบุว่า มี ร่างกาย เหมือนสีใบไม้เหลืองและใหญ่เท่ากับวัวหนุ่ม
กาฬสีหะ 

     เป็น ๑ ใน ๔ ราชสีห์แห่งป่าหิมพานต์ นอกจากนี้ยังเป็นราชสีห์ที่กินพืชเป็นอาหารเท่านั้น กาฬสีหะมีกายดำสนิท และใหญ่ราวโคหนุ่ม (คำว่า "กาฬ" แปลว่าดำ)

     ถึงแม้กาฬสีหะจะกินเฉพาะพืช แต่ก็ใช่ว่าจะมีกำลังวังชา ด้อยไปกว่าราชสีห์ชนิดอื่น ราชสีห์ทุกชนิดมีเสียงคำราม อันทรงพลัง ในตำนานกล่าวว่าเพียงเสียงคำรามของราชสีห์ก็สามาารถทำให้ สัตว์อื่น เจ็บได้

ไกรสรราชสีห์ 



     ในตำนานพระเวสันดร มีตอนหนึ่งกล่าวถึงไกรสรราชสีห์ ในเรื่องบรรยายว่าเป็นสัตว์ทรงพลัง กายเป็นสิงห์ มีขนแผงคอ ริมฝีปาก ขนหาง และเล็บเป็น สีแดงดั่งผ้ารัตนกัมพล

     ไกรสรราชสีห์เป็น ๑ ใน ๔ ราชสีห์แห่งป่าหิมพานต์ ในตำนานกล่าวว่าไกรสรราชสีห์เป็นสัตว์ที่มีพละกำลังแรงกล้า เป็นนักล่าชั้นเยี่ยมและกินสัตว์ใหญ่น้่อยเป็นอาหาร

ติณสีหะ


     มีกายสีแดง เป็นราชสีห์อีกชนิดที่กินแต่พืชเป็นอาหาร ลักษณะเด่นอีกอย่างของ ติณสีหะคือมีเท้าเป็นกีบแบบม้า

สิงห์ผสม คือสัตว์ประสมที่มีลักษณะของราชสีห์กับสัตว์ประเภทอื่น ได้แก่

นรสิงห์ หรือ นรสีห์ (สันสกฤตनरसिंहอังกฤษNarasimha) เป็นอวตารร่างที่ 4 ของพระนารายณ์ตามเนื้อเรื่องในคัมภีร์ปุราณะ อุปนิษัท และคัมภีร์อื่น ๆ ของศาสนาฮินดู โดยมีร่างกายท่อนล่างเป็นมนุษย์ และร่างกายท่อนบนเป็นสิงโต

เกสรสิงหะ
เหมราช
คชสีห์
ไกรสรจำแลง
ไกรสรคาวี
ไกรสรนาคา
ไกรสรปักษา
โลโต
พยัคฆ์ไกรสร
สางแปรง
สกุณไกรสร
สิงฆ์
สิงหคาวี
สิงหคักคา
สิงหพานร
สิงโตจีน
สีหรามังกร
เทพนรสีห์
ฑิชากรจตุบท
โต
โตเทพสิงฆนัต
ทักทอ
เกสรสิงห์::. 

     หรือกาสรสิงห์เป็นสิงห์ืี่มีส่วนผสม ระหว่างราชสีห์ กับสัตว์ประเภทวัวควาย กาสรสิงห์มีผิวกายสีเทา ร่างเป็นแบบสิงห์ แต่มีเท้าเป็นกีบเหมือนเท้าควาย

เหมราช::. 


     ตามชื่อของสัตว์ชนิดนี้ เหมราชเป็นสัตว์ผสมที่มีร่างเป็นสิงห์ส่วนหัวเป็นเหม เหมเป็นสัตว์ในวรรณคดีไทยชนิดหนึ่ง บ้างก็ว่ามีลักษณะเหมือนหงส์ (ห่าน) แต่ในบางรูป ก็วาดเหมเหมือนสัตว์ตระกูลจระเข้

คชสีห์::. 


     เป็นสิงห์ผสมที่มีกายเป็นสิงห์ และมีช่วงหัวเป็นช้าง ตามตำรากล่าวว่าคชสีห์มีพลังเทียบเท่าช้างและสิงห์รวมกัน ซึ่งนับได้ว่าเป็นสัตว์ที่น่าเกรงขาม คชสีห์มีลักษณะคล้ายสัตว์หิมพานต์อีกชนิดหนึ่งชื่อทักทอ

ไกรสรจำแลง::.


     มีหัวแบบมังกร และมีร่างเป็นราชสีห์ (สิงโต) จิตรกรบางท่านเรียกไกรสรจำแลงว่า "ไกรสรมังกร" ซึ่งมีความหมาย ตรงตัวว่ามังกรสิงห์

ไกรสรคาวี::. 


     สัตว์ชนิดนี้มีลักษณะผสมระหว่างสิงโต และวัว. ในรูปจิตรกรรมไทย มักวาดไกรสรคาวีเป็นสัตว์ที่มีช่วงหัวเป็นวัว และมีร่างเป็น สิงโต. จิตรกรบางท่านวาดไกรสรคาวีเป็นสิงห์ที่มีหัวเป็นวัว แต่มีหางเหมือนม้า

ไกรสรนาคา::.


      ตามชื่อของสัตว์ชนิดนี้ ไกรสรนาคาเป็นสิงห์ผสมที่มีส่วนประกอบของนาคด้วย หางเหมือนสัตว์เลื้อยคลานประเภทงู ตัวมีลักษณะคล้ายสิงห์ แต่มีเกล็ดแข็งปกคลุมทั่วกาย

ไกรสรปักษา::.


      เป็นสัตว์ผสมระหว่างสิงห์กับนก. ตามรูปโบราณ ไกรสรปักษามีกายสีเขียวอ่อน หัวเป็นเหมือนพญาอินทรี ตัวเป็นดั่งราชสีห์แต่มีเกล็ดคลุม นอกจากนั้นยังมีปีกเหมือนนกอีกด้วย

โลโต::. 


     มีร่างกายเป็นสิงห์สีน้ำตาล ลักษณะเด่นคือมีเท้าแบบกรงเล็บ ชื่อโลโต เป็นชื่อที่ค่อนข้างแปลก ไม่ททราบว่าจริงๆแล้วแปลว่าอะไร แต่ในภาษาจีนคำว่า โลโต แปลว่าอูฐ

พยัคฆ์ไกรสร::.


     มีส่วนประสมระหว่างสิงห์กับเสือ ส่วนหัวมีลักษณะเหมือนเสือลายพาดกลอน หรือเสือเบงกอล ส่วนตัวเป็นแบบสิงโต ตามจริงแล้วในโลกมนุษย์ ก์็มีสัตว์ที่มี ลักษณะเช่นนี้เหมือนกัน นั่นก็คือ "Liger-ไลเกอร์" (สัตว์ลูกผสมที่มีพ่อเป็นสิงโต และมีแม่เป็นเสือ) หรือ "Tigon-ไทกอน" สัตว์ลูกผสมที่มีพ่อเป็นเสือ และมีแม่เป็นสิงโต)

สางแปรง::.


     มีกายเป็นสีเหลือง และมีเท้าเป็นแบบกรงเล็บ คำโบราณไทยให้ความหมายของคำว่า "สาง" ไว้หลายแบบ บ้างก็แปลว่าเสือ บ้างก็แปลว่าช้าง

สกุณไกรสร::.


     มีผิวกายเป็นสีน้ำตาล ส่วนหัวเป็นเหมือนนก ส่วนตัวเป็นสิงห์ยังมีสัตว์อีกชนิดในป่าหิมพานต์ที่คล้ายคลึงกับ สกุณไกรสร นั่นก็คือ ไกรสรปักษา ข้อแตกต่างระหว่างสัตว์ทั้ง ๒ ชนิดคือ สกุณไกรสรไม่มีปีกเหมือนไกรสรปักษา

สิงฆ์::. 


     นอกเหนือจากที่มีอธิบายไว้ว่ามีกายสีม่วงอ่อน สิงฆ์มีลักษณะเหมือนราชสีห์ทั่วไป

สิงหคาวี::.


     มีลักษณะคล้ายกับ ไกรสรคาวี ทั้งคู่เป็นสัตว์ผสมที่มีหัวเป็น วัว และมีตัวเป็น สิงห์

สิงหคักคา::. 


     หรือสีหะคักคามีกายเป็นเกล็ดสีม่วงเข้ม แม้จะมีส่วนหัวและตัวเป็นสิงห์ กลับมีเท้าเหมือนช้าง

สิงหพานร::.


     มีขนกายสีแดง ช่วงบนมีลักษณะเป็นวานรรหรือลิง ส่วนช่วงล่างและหางมีลักษณะของสิงห์ แต่ช่วงเท้ากลับมี ลักษณะเหมือนอุ้งเท้าลิง

สิงโตจีน::.


     เห็นสัตว์ที่ไทยเราได้มาจากประเทศจีน สิงโตจีนโดยปกติ จะมีขนปกคลุมยาวต่างจากสิงห์ชนิอื่น ในประเทศไทย ท่านสามารถพบสิงโตจีนได้ทั่วไปตามวัดวาอาราม หรือ แม้กระทั่งศาลเจ้่าจีนเกือบทุกแห่ง

สีหรามังกร::.


      สิงห์ชนิดนี้มีหัวเป็นมังกร มีร่างเป็นสิงห์สีน้ำตาล คนทั่วไปมักจำสีหรามังกรสับสนกับไกรสรจำแลง

เทพนรสีห์::.


     เป็นสัตว์ผสมที่มีกายท่อนบนเป็นมนุษย์ ส่วนท่อนล่างเป็นสิงห์ แต่ในบางตำราก็ว่ามีช่วงล่างเป็นกวาง ตัวเมียเรียกว่า "อัปสรสีห์"

ฑิชากรจตุบท::.


     เป็นสิงห์ที่มีลักษณะของนก คำว่า จตุบท มาจากคำว่าจตุ ซึ่งแปลว่า ๔ และ คำว่า บท มาจากคำว่า บาท ซึ่งหมายถึง เท้า

     ส่วนคำว่าฑิชากรแปลว่านก ในตำราบรรยายว่า สัตว์ชนิดนี้มีกายสีเขียวอ่อน ส่วนหางมีสีเหลือง

โต::.


     มีลักษณะคล้ายสิงห์แต่ส่วนหัวมีเขา ๒ เขา ว่ากันว่าชื่อ โตนี้ได้มาจากชื่อสัตว์ในตำนานของประเทศลาว

โตเทพสิงฆนัต::. (ไม่มีรูปอ่ะ T^T หาไม่ได้)

     เป็นสัตว์ตระกูลสิงห์ มี กายสีน้ำตาล ชื่อของสัตว์ชนิดนี้มาจากคำว่า โต และ สิงฆนัต ทั้งสองคำ มีความหมาย พ้องหันคือ แปลว่าสิงโต

ทักทอ::.

     เป็นสัตว์ประหลาดอีกชนิดแห่งโลกหิมพานต์ มีกายท่อนล่างเป็นสิงห์ ส่วนหัวเป็นช้าง ผู้อ่านมักสับสนกับคชสีห์ เพราะทั้งคู่มีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก จุดต่างของสัตว์ทั้งสองคือ ทักทอมีเครา และผมตั้งไปข้างหน้า


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

    ม้า


ดุรงค์ไกรสร
ดุรงค์ปักษิณ
เหมราอัสดร
ม้า
ม้าปีก
งายไส
สินธพกุญชร
สินธพนที
โตเทพอัสดร
อัสดรเหรา
อัสดรวิหค
ดุรงค์ไกรสร::.

     มีลักษณะคล้ายกับ โตเทพอัสดร กล่าวคือทั้งคู่ เป็นสัตว์ผสมระหว่าง สิงห์กับม้า ตามตำนาน ดุรงค์ไกรสรมีกายเป็นม้าสีแดง มีหางสีดำ กีบสีดำเหมือนม้า ส่วนหัวเป็นสิงฆืที่มีลักษณะสง่า ชื่อ “ดุรงค์ไกรสร” มาจากคำบาลีโบราณ ๒ คำคือ “ดุรงค์” ซึ่งคือสายพันธุ์หนึ่งของม้า และคำว่า “ไกรสร” ซึ่งก็คือสิงห็นั่นเอง .

     ดุรงค์ไกรสรเป็นสัตว์กินเนื้อเป็นอาหาร อาหารที่กิน ก็คือสัตว์นานาชนิดในป่าหิมพานต์ ไม่ว่าจะเป็นกวาง หรือวัวควาย ลักษณะเด่นของดุรงค์ไกรสรคือ สามารถวิ่งได้เร็วดุจม้าและ มีความแข็งแรงอย่างสิงห์

ดุรงค์ปักษิณ::.


     ตามตำราดุรงค์ปักษิณคือม้าที่มีปีกและหางเหมือนนก มีกายสีขาวบริสุทธิ์ ส่วนขนคอ กีบและหางมีสีดำสนิท คำว่าดุรงค์ไกรสรมาจากคำ ๒ คำคือ ดุรงค์ ซึ่งคือหนึ่งในสี่สายพันธุ์ม้าและ ปักษิณ ที่แปลว่านก

     สัตว์หิมพานต์อีกชนิดที่เหมือนสัตว์ชนิดนี้คือ ม้าปีก ทั้งคู่คล้ายกันมากจะต่างก็เพียงแต่ม้าปีก มีหางดุจดั่งม้าทั่วไป หาใช่หางแบบนกไม่

     ค้านตะวันตกเองก็มีม้าติดปีกในตำนานเช่นกัน ที่รู้จักกันดีก็คือ เปกาซัส ม้าแห่งตำนานเทพของกรีก

เหมราอัสดร::.


     มีรูปกายเป็นม้า ส่วนหัวเป็นเหม ตัวเหมนั้น บางที่ก็วาดออกมาเป็นแบบนกหงส์ บางที่ก็วาดออกมา ปากเหมือนสัตว์ประเภทจระเข้

ม้า::.


     ตามตำนานของศาสนาฮินดู เทพแ่งลมได้สร้างม้าขึ้นมา ๔ สายพันธุ์คือ วลาหค อาชาไนย สินธพมโนมัย และอัสดร ม้าทั้ง ๔ มีฤทธิ์เหาะเหินเดินอากาศ วันหนึ่งม้าทั้งสี่นี้ได้บุกเข้าไปในเขตของ พระศิวะเพื่อที่จะพบกับม้าสาว ๒ ตัวที่พระอุมาเทวี (มเหสีของพระศิวะ) เลี้ยงไว้ แต่เคราะห์ร้ายโดนผู้เฝ้าสวรรค์จับได้ ม้าทั้ง ๔ จึงถูกตัดเอ็นข้อเท้าที่ทำให้มีฤทธิ์บินได้ จากนั้นองค์ศิวะเจ้าจึงสาปให้มาเป็นทาสรับใช้มนุษย์ตลอดกาล 

ม้าปีก::.
 


     นอกจากจะมีในตำนานสัตว์หิมพานต์แล้วยัง มีปรากฎในตำนานอื่นเช่นตำนานม้าปีกเปกาซัสของ กรีก หรือตำนานม้าบินของจีน ถึงแม้รายละเอียดต่างๆ ของม้าปีกในแต่ละตำนานจะมี ความแตกต่างกันบ้าง เช่นม้าเปกาซัสมีสีขาวบริสุทธิ์ แต่โดยหลักแล้วจะมีลักษณะร่วมคือ มีร่างกายและ ส่วนหัวเป็นม้า มีปีก ๑ คู่ ปีกคู่นี้มีความแข็งแรงมาก และสามารถทำให้ม้าปีกบินได้อย่างรวดเร็ว นอกจากม้าปีกแล้ว สัตว์หิมพานต์์ที่มีลักษณะ ผสมระหว่างม้าและนกก็มี ดุรงค์ปักษิณ เหมราอัสดร และอัสดรวิหค

งายไส::.


     เป็นสัตว์ผสมชนิดหนึ่งในป่สหิมพานต์ ชื่อ งายไสนั้น เป็นชื่อที่ค่อนข้างแปลก ผู้ประพันธ์เองได้ พยายามหาที่มาของ ชื่อนี้แต่ก็ยังไม่ทราบว่ามาจาก ไหนและแปลว่าอะไร แต่ในตำนานได้บรรยายว่างายไสมีลักษณะผสมระหว่างสิงห์กับม้า โดยมีหัวเป็นสิงห์ มีเขาบนหน้าผาก ๒ ข้าง บ้างก็เชื่อว่างายไสมีหัวเป็น กิเลน มีลักษณะแบบม้าจากช่วงคอลงมา มีสีเขียวคราม เป็นสีพื้น งายไสเป็นสัตว์กินเนื้อเป็นอาหาร

     สัตว์ที่งายไสล่าเป็นเหยื่อ มีตั้งแต่สัตว์เล็กจนไปถึงสัตว์ใหญ่ บางครั้งก็ล่ามนุษย์เป็นอาหาร คนส่วนใหญ่มักจำงายไส สลับกับดุรงค์ไกรสรเพราะสัตว์ทั้ง ๒ ประเภทมีร่างเป็นม้าและมีส่วนหัว เป็นสัตว์ประเภทสิงห์ จะต่างก็เพียงแต่หัวของดุรงค์ไกรสรไม่มีเขา

สินธพกุญชร::.


     มีกายเป็นม้าสีเขียว แต่ส่วนหัวกลบเป็น ช้าง ในตำรากล่าวว่ามีกีบสีดำเหมือนม้าเช่นกัน

สินธพนัทธี::. 


     เป็นสัตว์หิมพานต์ที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำหรือทะเลสาป คำว่าสินธพนัทธีหมายถึงม้าแม่ น้ำ โดยรากศัพท์แล้วมาจาก คำว่าสินธพ หมายถึง ม้า พันธุ์ดีจากบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ ซึ่งเป็นแม่น้ำสำคัญ สายหนึ่งในประเทศอินเดีย ส่วนคำว่า “นที” มีความ หมายตามตัวว่าน้ำ ม้าสินธพนี้มีกำลังและฤทธิ์เดชมาก สามารถวิ่งไปบน ใบบัวได้ โดยที่ใบบัวไม่สั่นแม้แต่น้อย คำว่า “สินธุ” เองเป็นชื่อเมืองโบราณในอินเดียด้วย คาดว่าเมืองสินธุก็คือ รัฐสินธในปัจจุบันนั่นเอง เหตุที่ ใช้ชื่อเมืองนี้คงเป็นเพราะเมืองนี้ มีชื่อเสียงทางม้า ม้าดีจึงมีชื่อว่า สินธพ สินธพนัทธี มีตัวเป็นม้า หางเป็นปลา พื้นสีขาว ครีบและหางมีสีแดงชาด

โตเทพอัสดร::. 


     เป็นสัตว์หิมพานต์แบบผสมระหว่างสิงโตกับม้า มีลักษณะทั่วไปเหมือนดุรงค์ไกรสร กล่าวคือมีหัวเป็นสิงโต และมีร่างเป็นม้า แต่เมื่อพิจารณาลึกๆแล้วมีความแตกต่างจาก ดุรงค์ไกรสร โดยโตเทพอัสดรมีร่างกายเป็นม้าสีแสด หางและกีบสีแดงชาด หัวเป็นสิงโต คอ หลังและขนสร้อยคอสีเขียว คำว่า “อัสดร” มาจากภาษาสันสกฤต “อสฺสตร” หมายถึง ม้าดี หรือสัตว์ผสมที่เกิดจากพ่อที่เป็นลา และแม่ที่เป็นม้า โตเทพอัสดรเป็นสัตว์ล่าเนื้อเป็นอาหารเช่นเดียวกับ ดุรงค์ไกรสร สัตว์ที่เป็นเหยื่อของโตเทพอัสดรมีตั้งแต่ สัตว์เล็กสัตว์น้อย จนไปถึงสัตว์ขนาดใหญ่ ในป่าหิมพานต์เช่นกวาง วัว ควาย

อัสดรเหรา::.


      เป็นสัตว์ผสมระหว่างสัตว์ตระกูลม้าและเหรา ในตำรากล่าวว่ามีผิวกายสีม่วงอ่อน สัตว์ตระกูลเหรานั้น บางทีก็วาดเหมือนจระเข้ บ้างก็วาดออกมาเหมือนมังกร

อัสดรวิหค::. 


      เป็นม้าผสมที่เกิดจากม้าและนก ร่างกายเป็นม้ามีสีเหลืองเป็นสีพื้น ส่วนหัวเป็นนก มีขนคอเป็นสีส้มแดง ปีกมีสีแดงชาด กีบและหางมีสีดำ อัสดรวิหคสามารถ เหาะเหินเดินอากาศได้เพราะ ปีกที่มีพละกำลังมหาศาล เช่นเดียวกับม้าผสมประเภทมีปีกเช่น ม้าปีกและดุรงค์ปักษิณ อัสดรวิหคเป็นสัตว์ที่กิน ทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร อาหารหลักของอัสดรวิหคได้แก่ แมลง สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ตัวเล็กๆ และ เมล็ดพืช

     แรด


        หรือเรียกอีกอย่างว่า ระมาด เป็นสัตว์หิมพานต์ที่มาจากสัตว์ที่มีตัวตนอยู่จริง แต่แรดเป็นสัตว์ป่าหายาก ระมาดที่ปรากฏในศิลปะไทยจึงดูคล้ายตัวสมเสร็จ มีจมูกเป็นงวงสั้นๆ

     ช้าง

        ตำนานของช้างที่เกี่ยวกับป่าหิมพานต์มีเหตุมาจากความเชื่อของศาสนาฮินดู อันได้แก่
เอราวัณ
กรินทร์ปักษา
วารีกุญชร
ช้างเผือก

    วัวควาย


        ไทยและอินเดียเป็นประเทศกสิกรรม สัตว์ประเภทวัวควายจึงมีส่วนสำคัญในการดำรงชีพ ตำนานบางเรื่องจึงมีวัวควายเป็นตัวละคร ได้แก่
มังกรวิหค
ทรพี
ทรพา


    ลิง

กบิลปักษา
มัจฉาน


    สุนัข


        ในภาพเขียนเก่าจะเป็นภาพสุนัขมีขนคอหนาและหางเป็นพุ่ม
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

    นก


        เป็นสัตว์ที่มีมากที่สุดในป่าหิมพานต์ มีจำนวนมากถึง 28 ชนิด แตกต่างตามถิ่นที่อยู่อาศัย แต่นกที่ได้รับการเคารพสูงสุดสำหรับฮินดู คือครุฑ นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวของเทพปักษีและเทพกินนร สัตว์หิมพานต์ ประเภทนก ได้แก่
อสูรปักษา
อสุรวายุพักตร์
ไก่

นกการเวก

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%91

ครุฑ
หงส์
หงส์จีน
คชปักษา
มยุระคนธรรพ์
มยุระเวนไตย
มังกรสกุณี
นาคปักษี
นาคปักษิณ
นกหัสดี
นกอินทรี
นกเทศ
พยัคฆ์เวนไตย
นกสดายุ
เสือปีก
สกุณเหรา
สินธุปักษี
สีหสุบรรณ
สุบรรณเหรา
นกสัมพาที
เทพกินนร
เทพกินรี
เทพปักษี
นกทัณฑิมา

   

 +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 ปลา


เหมวาริน
กุญชรวารี
มัจฉนาคา
มัจฉวาฬ
นางเงือก
ปลาควาย
ปลาเสือ
ศฤงคมัสยา
   จระเข้

กุมภีนิมิตร
เหรา

    ปู


        รูปลักษณะไม่เปลี่ยนจากรูปแบบทางกายภาพจริง แต่จะมีขนาดใหญ่กว่าปกติ


    นาค

        เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ตามคติในศาสนาพุทธ และพบได้บ่อยในสถาปัตยกรรมภาษาไทย

   มนุษย์

คนธรรพ์
มักกะลีผล
ศิลป์ประดับพระเมรุ

        ตามธรรมเนียมโบราณของการสร้างพระเมรุ จะมีการปั้นสัตว์หิมพานมาประดับบริเวณบันไดพระเมรุเพื่อความสวยงาม และเพื่อให้เปรียบเสมือนว่าเป็นเขาพระสุเมรุที่จะส่งเสด็จสู่เทวาลัยสถานบรรพต โดยการประดับสัตว์หิมพานต์ที่พระสุเมรุนั้นมีตั้งแต่ช่วงต้นของสมัยรัตนโกสินทร์แล้ว อีกทั้งจากบันทึกทางประวัติศาสตร์การสร้างพระเมรุมาศ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ก็ได้มีการนำสัตว์หิมพานต์มาตกแต่งเช่นกัน ซึ่งจะเริ่มจากรูปเทวดาที่ประดับด้านบนพระสุเมรุ ส่วนบริเวณที่ต่ำลงมาอย่างบันไดพระเมรุก็จะมีรูปปั้นสัตว์หิมพานต์มาประดับ การประดับอาจจะมีมากกว่า 3 คู่ แต่ก็อยู่ที่ความเหมาะสมในการตกแต่งด้วย
        โดยพระเมรุของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จะใช้สัตว์หิมพานต์ 3 คู่ ที่จะประดับอยู่หน้าบันไดทางขึ้นพระเมรุ จะเป็นสัตว์หิมพานต์ประเภท ทวิบาท คือสัตว์ 2 เท้า เช่น นกทัณฑิมา กินนร กินรี นรนารี เป็นต้น ส่วนสัตว์ที่จะใช้ประดับในสวนรอบๆ พระเมรุ จะเป็นสัตว์หิมพานต์ประเภท จตุบาท คือสัตว์ 4 เท้า เช่น ม้าลี่ คชวารี นรสิงห์ เป็นต้น ทั้งนี้สัตว์หิมพานต์ที่ใช้ประดับทางขึ้นบันได หากเลือกสัตว์ชนิดใดก็จะต้องประดับเป็นคู่
 CREDIT : http://www.himmapan.com/thai/himmapan_naga.html