วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2556

อานิสงส์ในการสร้างลูกนิมิต



อานิสงส์ถวายสัพพทาน
...... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทานของสัปบุรุษเหล่านี้ ๘ อย่าง คือ 
๑. ให้ของที่สะอาด
๒. ให้ของประณีต 
๓. ให้ถูกกาล 
๔. ให้ของที่สมควร 
๕. เลือกให้ 
๖. ให้เสมอ ๆ 
๗. กำลังให้ยังจิตให้เลื่อมใส 
๘. ครั้นให้แล้วปลื้มใจ สัปปุริสทาน 


การให้ ๘ อย่างนี้ประเสริฐยิ่งนักหนา 

ในกาลครั้งนั้น องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าก็สถิตสำราญอยู่ในป่าเชตวันอันเป็นอารามของนาย อนาถปิณฑิก มหาเศรษฐีอยู่ในที่ใกล้ ๆ นครสาวัตถี ในกาลครั้งนั้นมีพระยาองค์หนึ่ง ชื่อ มหานามะ ก็เอา ประธูปประทีปคันธรสของหอม 
แล้วพาหมู่บริวารทั้งหลายเข้าไปสู่ที่เฝ้าพระสัพพัญญูเจ้า แล้วก็นั่งในที่
ควรแห่งหนึ่ง จึงทูลถามพระสัพพัญญูเจ้าว่า “ภนฺเต ภควา” ข้าแต่องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าบุคคลผู้ใด เลื่อมใสศรัทธา มาก่อสร้าง "สัพพาทาน" หลาย ๆ ชนิด ก็จักมีอานิสงส์ดังรือพระเจ้าข้า “ภควา” อันว่าองค์
... สมเด็จพระศาสดาจารย์เจ้าจึงเทศนาว่า ดูกรมหาบพิตร นรชนหญิงชายทั้งหลายมีใจเลื่อมใสศรัทธา มาก่อสร้าง "สัพพาทาน" หลาย ๆ ชนิดเป็นต้นว่า
  • สร้างพระพุทธรูปก็จักได้อานิสงส์ ๙ กัลป
  • สร้างพระไตรปิฏกธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ก็ได้อานิสงส์ ๑๐ กัลป 
  • ผู้ใดได้บวชตนเป็นสามเณร ก็จักได้อานิสงส์ ๑๒ กัลป 
  • ผู้ไดได้บวชตนเป็นพระภิกษุ ก็จักได้ อานิสงส์ ๒๔ กัลป 
  • ผู้ใดได้สร้างพระธาตุเจดีย์ก็จักได้อานิสงส์ ๘๐ กัลป 
  • ผู้ใดได้ปลูกไม้ศรีมหาโพธิ์ ก็จักได้อานิสงส์ ๙ กัลป 
  • ผู้ใดให้โภชะนังยังข้าวน้ำ โภชนะอาหารให้เป็นทานแก่ภิกษุสามเณร ก็จักได้บริวารแสนหนึ่ง 
  • ผู้ใดได้สร้างเจดีย์ทรายก็จักได้อานิสงส์ ๖๐ กัลป 
  • ผู้ใดสร้างกุฏีให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป
  • ผู้ใดสร้างอุโบสถให้เป็น ทานก็จักได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป 
  • ผู้ใดสร้างกฐินให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๘๐ กัลป 
  • ผู้ใดสร้างอารามให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๔๐กัลป 
  • ผู้ใดสร้างพัทธสีมาให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๑๐๐ กัลป 
  • ผู้ใดได้บวชบุรุษผู้อื่นให้เป็นพระภิกษุก็จักได้อานิสงส์ ๘ กัลป 
  • บวชบุตรตนเองให้เป็นภิกษุ ก็จะได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
  • ภรรยาบวชสามีของตนให้เป็นสามเณร ก็จักได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
  • ภรรยาบวชสามีของตนให้เป็นพระภิกษุ ก็จักได้อานิสงส์ ๓๒ กัลป
  • สามีบวชภรรยาให้เป็นภิกษุณี ก็จักได้อานิสงส์ ๖๔ กัลป
  • ผู้ใดได้สร้างพระเจดีย์ธาตุข้าวเปลือกให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๓๑ กัลป 
  • ผู้ใดสร้างพระเจดีย์ธาตุข้าวสารให้เป็นทานได้อานิสงส์ ๔๒ กัลป
  • ผู้ใดได้สร้างพระเจดีย์ธาตุเหลือให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๖๔ กัลป 
  • ผู้ใดสร้างรั้วล้อมอาราม ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป 
  • ผู้ใดปัดกวาดขยะมูลฝอยถอนเสียจากเขตอารามได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป 
  • ผู้ใดสร้างศาลาสะพานบ่อน้ำให้เป็นทานได้อานิสงส์ ๓๐ กัลป 
  • ผู้ใดได้ถวายดอกไม้ธูปเทียนได้อานิสงส์ ๘ กัลป 
  • ผู้ใดได้สร้างอัฏฐให้เป็นทานได้อานิสงส์ ๓๖ กัลป 
  • ผู้ใดได้ถวายจีวรเถราภิเษก ได้อานิสงส์ ๓๒ กัลป 
  • ผู้ใดถวายผ้าป่าได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป
  • ผู้ใดให้ฝาผนังและเพดานเป็นทานได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป 
  • ผู้ใดสร้างธงฝ้าย ธงผึ้ง ธงชัย ธงชาย ธงเหล็ก บูชาพระรัตนตรัย ได้อานิสงส์ ๖๔ กัลป 
  • ผู้ใดสร้างขันหมากเบ็งบูชาระรัตนตรัย ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป 
  • ผู้ใดถวายซึ่งข้าวพันก้อนบูชาพระรัตนตรัยได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป 
  • ผู้ใดถวายผ้าอาบน้ำฝน และผ้าจำนำพรรษา ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
  • ผู้ใดสร้างปราสาทดอกผึ้งให้เป็นทาน ได้อานิสงส์ ๓ กัลป
  • ผู้ใดสร้างต้นกัลปพฤกษ์ให้เป็นทานได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป์ 
  • ผู้ใดสร้าง ฆ้อง กลอง แคน ซอ หอยสังข์ ปี่ แตร แตรวง ดนตรีให้เป็นทานได้อานิสงส์ ๖๐ กัลป
  • ผู้ใดได้ถวายเสื่อสาดอาสนะได้อานิสงส์ ๔ กัลป 
  • ผู้ใดถวายเตียงเก้าอี้ฟูกเบาะให้เป็นทาน ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป 
  • ผู้ใดได้ปลูกกุฏีกรรมให้พระภิกษุเข้าปริวาสกรรม และมานัตตกรรม ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
  • ผู้ใดได้สร้างบั้งไฟจุดบูชาพระรัตนตรัย ได้อานิสงส์ ๔ กัลป 
  • ผู้ได้สร้างพัทธสีมาน้ำได้อานิสงส์ ๖๗ กัลป
  • ผู้ใดได้สร้างธรรมาสน์ ได้อานิสงส์ ๓๒ กัลป 
  • ผู้ใดได้สร้างเวจกุฏี ได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป 
  • ผู้ใดได้เผาซากศพที่ตกเรี่ยราดอยู่ตามป่าตามดง ได้บริวารหมื่นหนึ่ง
  • ผู้ใดได้เผาศพญาติมิตรสหาย ได้บริวาร ๓ หมื่น 
  • ผู้ใดได้เผาศพบิดามารดาได้บริวารหนึ่งแสน 
  • ผู้ใดได้เผาศพอุปัชฌาย์อาจารย์ ได้บริวารโกฏิหนึ่ง 
  • ผู้ใดได้ถวายโอ่งน้ำ และส้วมอาบน้ำ และครุตักน้ำก็ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป



สัพพทานทั้งหลายชนิดเหล่านี้บุคคลผู้ใดมีศรัทธากล้าหาญอาจสละสมบัติออกสร้างวัตถุประสงค์ ดังแสดงมานี้ ก็มีอานิสงส์ผลบุญพูนสุขในชั่วนี้และชั่วหน้า

อานิสงส์ที่ได้ปัจจุบันนี้คือ จะไปมาทางใดก็มีคนนับหน้าถือตาไม่ได้เป็นที่รังเกียจของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง มีแต่ผู้อยากให้ร่วมกินร่วมอยู่ทั้งนั้น 

เราจะเข้าไปสู่สมาคมใด ๆ ก็ไม่ครั้นคร้ามสยดสยองเกรงกลัวต่ออำนาจผู้ใด การทำมาหากินก็สมความมุ่งมาตรปรารถนาสมประสงค์ ครั้นสิ้นบุพพกรรมมนุษย์ในโลกนี้แล้ว ก็จะถือเอาตนเมื่ออุบัติขึ้นบนสวรรค์ชั้นดาวดึงสายามาตุสิตาโดยลำดับ จนถึงพรหมโลก ครั้นจุติจากพรหมโลกลงมาเกิดในมนุษย์โลก ก็ไม่ไปเกิดในหิเนกุลชั่วร้าย และจักได้ไปเกิดในตระกูลท้าวพระยามหากษัตริย์ หรือตระกูลพราหมณ์ผู้มั่งคั่งมั่งมีเศรษฐีกฎุมพีแล้วก็จักได้ทัวระวัดไปมาบารมีแก่กล้า ก็จะได้บ่ายหน้าเข้าสู่เมืองแก้วนิรพาน พอ
จบธรรมเทศนาแห่งองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าลง สมเด็จพระเจ้ามหานามะ ก็ได้ตั้งอยู่ในไตรสรณคมณ์สามส่วนบริษัททั้งหลาย ก็ได้ถึง โสดา สกิทาคา อนาคา อรหันต์


จากหนังสือเทศน์อานิสงส์หน้า 224-228 
ผู้ใดได้จิตศรัทธาสร้างดังกล่าวมา จะได้อานิสงส์มาก จักได้มีความสุข 
สมความปรารถนาทุกชาติ ตามบุญที่สะสมแห่งตนทุกประการ



อานิสงส์ในการสร้างลูกนิมิต
       ส่งผลให้ไม่ว่าเราจะนึกทำสิ่งใดก็จะทำให้สำเร็จโดยเร็วฉับพลัน สิ่งดีๆ จะเข้ามาในชีวิต ประกอบการค้าขายก็เจริญก้าวหน้า ไม่ว่าจะเดินทางไปไหนก็จะแคล้วคลาดปลอดภัย จิตใจของเราจะหนักแน่น จะไม่ท้อแท้ ไม่สะทกสะท้านต่อสิ่งใดที่มากระทบ และเมื่อตั้งใจจะทำสิ่งใดก็สำเร็จได้ดังใจปรารถนาโดยสมบูรณ์ เหมือนดั่งที่ลูกนิมิตที่สาธุชนทั้งหลายร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อชี้เขตพัทธสีมา เพื่อให้พระสงฆ์สามารถทำสังฆกรรมในโบสถ์ได้โดยสมบูรณ์
           แก้กรรมให้กับผู้ที่คิดสิ่งใดวางแผนอะไรไม่ได้เป็นไปตามที่คิดมีจิตใจอ่อนไหว หาจุดยืนในตัวเองไม่ได้ โลเล ท้อแท้ ไม่ตั้งมั่น ทำอะไรสำเร็จช้า มีอุปสรรค ประกอบการค้าไม่เจริญก้าวหน้า



“นิมิต” แปลว่า “เครื่องหมาย” 

“ลูกนิมิต”
๐ ตามความหมายของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 
หมายถึง “ลูกที่ทำกลม ๆ ประมาณเท่าบาตร มักทำด้วยหินใช้ฝังเป็นเครื่องหมายเขตอุโบสถ" 
๐ ส่วนพจนานุกรมฉบับมติชนให้ความหมายว่า "ก้อนหินที่วางบอกเขตพัทธสีมาในการทำสังฆกรรม"

สรุปแล้ว “ลูกนิมิต” ก็คือ ลูกหินกลม ๆ มีขนาดเท่าบาตรของพระสงฆ์ ที่ใช้ฝังเพื่อเป็นเครื่องหมายบอกให้ทราบว่า ตรงไหนเป็นเขตของอุโบสถหรือโบสถ์เพื่อให้พระสงฆ์ได้ใช้เป็นที่ประกอบสังฆกรรมนั่นเอง

เพราะคำว่า “ นิมิต” แปลว่า “เครื่องหมาย”

อุโบสถ (อ่านว่า อุโบสด) ถือเป็นอาคารที่สำคัญภายในวัดเนื่องจากเป็นสถานที่ที่พระภิกษุสงฆ์ใช้ทำ สังฆกรรมซึ่งแต่เดิมในการทำสังฆกรรมของพระภิกษุสงฆ์จะใช้เพียงพื้นที่โล่ง ๆ ที่กำหนดขอบเขตพื้นที่สังฆกรรมโดยการกำหนดตำแหน่ง “สีมา” เท่านั้น แต่ในปัจจุบันจากการมีผู้มาอุปสมบทบรรพชามากขึ้น อีกทั้งภายในพระอุโบสถมักประดิษฐานพระประธานที่เป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญ ๆ ทำให้มีผู้มาสักการะบูชา และ ร่วมทำบุญเป็นจำนวนมากพระอุโบสถจึงถูกสร้างขึ้นเป็นอาคารถาวร และมักมีการประดับตกแต่งอย่างสวยงาม

ยังมีอีกมีหลายความหมาย คือ หมายถึง

สถานที่ที่พระสงฆ์ ประชุมทำสังฆกรรมตามพระวินัย เช่นสวดพระปาติโมกข์ในวันพระทุกกึ่งเดือน
ขึ้น ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ และแรม ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ หรือ การอุปสมบทบรรพชาเป็นพระภิกษุ 
หรือการสวดเข้าอยู่ปริวาสกรรมของพระภิกษุสงฆ์ หรือสังฆกรรมใด ๆ ที่ต้องเกิดขึ้นในอุโบสถ 
ตามพระวินัยบัญญัติ เรียกตามคำวัดว่า อุโบสถาคาร บ้าง อุโบสถัคคะ บ้าง แต่เรียกโดย
ทั่วไปว่า โบสถ์

๑. การเข้าจำ คือการรักษาศีล ๘ ของอุบาสก อุบาสิกา ในวันขึ้นและแรม ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ เรียกว่า 
รักษาอุโบสถ และรักษาอุโบสถศีล
๒. วันพระหรือวันฟังธรรมของคฤหัส วันขึ้นและแรม ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ซึ่งเป็นวันที่คฤหัสถ์รักษา
อุโบสถกัน เรียกว่า วันอุโบสถ
๓. วันที่พระสงฆ์ลงฟังพระปาติโมกข์ทุกกึ่งเดือน เรียกว่า วันอุโบสถ
๔. การสวดพระปาติโมกข์ทุกกึ่งเดือนหรือทุกวันอุโบสถของพระสงฆ์ เรียกว่า การทำอุโบสถ
๕. โบสถ์ เป็นคำเรียกสถานที่สำหรับพระสงฆ์ใช้ประชุมกันทำสังฆกรรมตามพระวินัย 
เช่น สวดพระปติโมกข์ ให้อุปสมบท มีสีมาเป็นเครื่องบอกเขต คำว่า โบสถ์เป็นคำที่ใช้เฉพาะ
ในพระพุทธศาสนา
๖. โบสถ์ เรียกเต็มคำว่า อุโบสถ หรือ โรงอุโบสถ ถ้าเป็นของพระอารามหลวงเรียกว่า 
พระอุโบสถ บางถิ่นเรียกว่า สีมา หรือ สิม
๗. โบสถ์ เป็นสถานที่ศักดิ์ศิทธิ์ เป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า เป็นเขตแดนที่พระเจ้าแผ่นดิน 
พระราชทานให้แก่สงฆ์เป็นพิเศษ เรียกว่าพระราชทาน วิสุงคามสีมา