วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

-บุโรพุทโธ Borobudur

บุโรพุทโธ Borobudur
ศาสนาพุทธอันรุ่งเรื่องในอดีต บนเกาะชวา





มหาสถูปบุโรพุทโธ หรือ บรมพุทโธ อินโดนีเซีย


มหาสถูปบุโรพุทโธ หรือ บรมพุทโธ (ภาษาอินโดนีเซีย: Chandi Borobudur) เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ในภาคกลางของเกาะชวา ห่างจากยอกยาการ์ตาไปทางตะวันตกเฉียงเหนือราว 40 กิโลเมตร สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 1293 - 1393 โดยบุโรพุทโธเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธนิกายมหายาน ถ้าไม่นับนครวัดของกัมพูชาซึ่งเป็นทั้งศาสนสถานของศาสนพราหมณ์-ฮินดูและศาสนาพุทธ บุโรพุทโธจะเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ในปีพ.ศ. 2534องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้บุโรพุทโธเป็นมรดกโลก



ประวัติของบุโรพุทโธ
บุโรพุทโธถูกสร้างขึ้นโดยกษัตริย์แห่งราชวงศ์ไศเลนทร เป็นสถูปแบบมหายาน สันนิษฐานว่าสร้างราวคริสต์ศตวรรษที่ 7-9 หรือ พุทธศักราช 1393 ตั้งอยู่ทางภาคกลางของเกาะชวา บนที่ราบเกฑุ ทางฝั่งขวาใกล้กับแม่น้ำโปรโก ห่างจากยอกยาการ์ตา ทางตะวันตกเฉียงเหนือ 40 กิโลเมตร บุโรพุทโธสร้างด้วยหินภูเขาไฟประมาณ 2 ล้านตารางฟุตบนฐานสี่เหลี่ยม กว้างด้านละ 121 เมตร สูง 403 ฟุต เป็นรูปทรงแบบปิรามิด มีลานเป็นชั้งลดหลั่นกัน 8 ชั้น และใน 8 ชั้นนั้น 5 ชั้นล่างเป็นลาน 4 เหลี่ยม 3 ชั้นบนเป็นลานวงกลม และบนลานกลมชั้งสูงสุดมีพระสถูปตั้งสูงขึ้นไปอีก 31.5 เมตร เป็นมหาสถูปที่ระเบียงซ้อนกันเป็นชั้นๆลดหลั่นกันไป


ซุ้มพระพุทธรูปมากมายที่บุโรพุทโธ 


ระเบียงภาพจำหลักบนชั้น 2


พระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ในเจดีย์แห่งบุโรพุทโธ


พระพุทธรูปอธิษฐานในเจดีย์


มหาเจดีย์ “บุโรพุทโธ” 


รูปขนาดเล็ก
มหาสถูปบุโรพุทโธ หรือ บรมพุทโธ อินโดนีเซีย-untitled-jpg   มหาสถูปบุโรพุทโธ หรือ บรมพุทโธ อินโดนีเซีย-3082101008081015-jpg   มหาสถูปบุโรพุทโธ หรือ บรมพุทโธ อินโดนีเซีย-268_1221437110_jpg_854-jpg   มหาสถูปบุโรพุทโธ หรือ บรมพุทโธ อินโดนีเซีย-2_778-jpg   มหาสถูปบุโรพุทโธ หรือ บรมพุทโธ อินโดนีเซีย-268_1221437137_jpg_203-jpg

มหาสถูปบุโรพุทโธ หรือ บรมพุทโธ อินโดนีเซีย-268_1221437162_jpg_514-jpg   มหาสถูปบุโรพุทโธ หรือ บรมพุทโธ อินโดนีเซีย-10_108-jpg  



ประวัติบุโรพุทโธ
บุโรพุทโธถูกสร้างขึ้นโดยกษัตริย์แห่งราชวงศ์ไศเลนทรบุโรพุทโธเป็นสถูปแบบมหายาน สันนิษฐานว่าบุโรพุทโธสร้างราวคริสต์ศตวรรษที่ 7-9 หรือพุทธศักราช 1393 ตั้งอยู่ทางภาคกลางของเกาะชวา บนที่ราบเกฑุทางฝั่งขวาใกล้กับแม่น้ำโปรโก ห่างจากยอกยาการ์ตา ทางตะวันตกเฉียงเหนือ 40 กิโลเมตรบุโรพุทโธสร้างด้วยหินภูเขาไฟประมาณ 2 ล้านตารางฟุตบนฐานสี่เหลี่ยม กว้งด้านละ 121 เมตร สูง 403 ฟุต เป็นรูปทรงแบบปิรามิด มีลานเป็นชั่งลดหลั่นกัน 8 ชั้น และใน 8 ชั้นนั้น 5 ชั้นล่างเป็นลาน 4 เหลี่ยม 3 ชั้นบนเป็นลานวงกลมและบนลานกลมชั้นสูงสุดมีพระสถูปตั้งสูงขึ้นไปอีก 31.5 เมตรเป็นมหาสถูปที่ระเบียงซ้อนกันเป็นชั้นๆลดหลั่นกันไป

ลักษณะและสถาปัตยกรรมบุโรพุทโธ
เชื่อกันว่าแผนผังของบุโรพุทโธคงหมายถึง “จักรวาล” และอำนาจของ “พระอาทิพุทธเจ้า” ได้แก่พระพุทธเจ้าผู้ทรงสร้างโลกในพุทธศาสนาลัทธิมหายานซึ่งแสดงโดยสถูปที่บนยอดสุดก็ได้แผ่ไปทั่วทั้งจักรวาล 
ซึ่งจักรวาลนี้แบ่งออกเป็น ๓ตอน 
คือชั้นบนสุดได้แก่ “อรุปธาตุ” 
ชั้นรองลงมาคือ “รูปธาตุ”
 และชั้นต่ำสุดคือ “กามธาตุ” 
พระอาทิพุทธเจ้าในพุทธศาสนาลัทธิมหายานเองก็ทรงมี ๓ รูป (ตรีกาย)
เพื่อให้ตรงกับธาตุ ทั้งสามนี้”
 “ธรรมกาย” ตรงกับ “อรูปธาตุ” ส่วน
 “สัมโภคกาย” (ประกอบด้วยพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์หลายองค์) ตรงกับ “รูปธาตุ”
 และ “นิรมานกาย” (ประกอบด้วยพระมนุษยพุทธเจ้า) สำหรับ “กามธาตุธรรมกาย” 
ที่ตรงกับ “อรูปธาตุ” นั้นไม่มีภาพสลักตกแต่งแต่ก็มี “เจดีย์ทึบ” 
ล้อมรอบไว้โดยเจดีย์ทึบเจาะเป็นรูโปร่งสามแถวและมี “พระพุทธรูปนั่งปางปฐมเทศนา” อยู่ภายใน 
(ยังถกเถียงกันคือ บางท่านก็ว่าเป็น “พระธยานิพุทธไวโรจนะ” 
แต่บางท่านก็ว่าเป็น “พระโพธิสัตว์วัชรสัตว์” ประจำองค์พระอาทิพุทธเจ้า)

ส่วนฐานที่ถัดลงมาอีกสี่ชั้นได้แก่ “รูปธาตุ” ที่พระอาทิพุทธเจ้าได้สำแดงพระองค์ออกมาเป็น “พระธยานิพุทธเจ้าห้าพระองค์” คือ “พระอักโษภวะปางมารวิชัยทางทิศตะวันออก, พระรัตนสัมภวะปางประทานพรทางทิศใต้, พระอมิตาภะปางสมาธิทางทิศตะวันตก” และ “พระอโมฆาสิทธะปางประทานอภัยทางทิศเหนือ” ส่วนองค์ที่ห้านี้อยู่เหนือผนังฐานยอดสุดยังเป็นปัญหาเพราะทรงแสดง “ปางแสดงธรรม” (วิตรรกะ) ที่บางท่านเชื่อว่าเป็น “พระธยานิพุทธเจ้า” องค์สูงสุดคือ “พระไวโรจนะ” แต่พระไวโรจนะโดยปกติทรงแสดงปาง “ประทานปฐมเทศนา” ก็เลยมีบางท่านเชื่อว่าพระพุทธรูปที่ทรงแสดงปาง “ปางวิตรรกะ” บนฐานชั้นยอดสุดหมายถึง “พระสมันตภัทรโพธิสัตว์” เพราะ “พระพุทธศาสนา” ลัทธิมหายานนิกาย “โยคาจารย์” ได้ยกย่องพระสมันตภัทรโพธิสัตว์ขึ้นเสมอเหมือน “พระธยานิพุทธเจ้า” อีกพระองค์อีกทั้งภาพสลักบนผนังระเบียงชั้นที่สี่ก็เกี่ยวกับคัมภีร์ “คัณฑพยุหะ” และ “ภัทรจารี” ที่ยกย่องพระสมันตภัทรโพธิสัตว์ขึ้นเป็น “พระธยานิพุทธเจ้า” ส่วน “พระธยานิพุทธไวโรจนะ” ก็คือพระพุทธรูปนั่งประทานปฐมเทศนา
ในเจดีย์รายสามแถวนั่นเองและ “พระธยานิพุทธเจ้า” อีกสี่พระองค์คือ “พระอักโษภยะ, รัตนสัมภวะ, อมิตาภะ, อโมฆสิทธะ” 
จึงประดิษฐานอยู่ในซุ้มเหนือฐานชั้นที่ ๑-๔ 
แต่ละทิศตามลำดับแต่บางท่านก็เชื่ออีกว่าพระพุทธรูปในซุ้มบนยอดฐาน
ชั้นที่ ๑ หมายถึง “พระมนุษยพุทธเจ้าสี่พระองค์” เพราะตรงกับกามธาตุได้แก่
 “พระโกนาคมทางทิศตะวันออก,
 พระกัสสปะทางทิศใต้,
 พระศรีศากยมุนีทางทิศตะวันตก, 
พระศรีอาริยเมตไตรยทางทิศเหนือ”
 ด้วยเหตุนี้เมื่อมีผู้มากระทำประทักษิณโดย
เดินเวียนขวารอบ “บุโรพุทโธ” ขึ้นไปแต่ละชั้นก็จะพ้น
จากกามธาตุขึ้นไปยังรูปธาตุและอรูปธาตุตามลำดับโดย “พระพุทธรูป”
 ในซุ้มเหนือฐานห้าชั้นมีทั้งหมด “๔๓๒ องค์”
 ถ้านับรวมพระพุทธรูปในเจดีย์รายอีก “๗๒ องค์”
 ก็มีจำนวนทั้งสิ้น “๕๐๔ องค์” 







ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่นี่ค่ะ
http://en.wikipedia.org/wiki/Borobudur_Temple_Compounds